วันพุธที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2555


   



ภาพ ทรัพยากรธรรมชาตที่สวยงาม
ที่มา : http://gotoknow.org

ความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
    มนุษย์เรามีความสัมพันธ์กับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างใกล้ชิดทั้งในฐานะที่ี่เป็นส่วนหนึ่งของธรรมชาติและในขณะเดียวกันก็เป็นผู้ใช้ประโยชน์จากธรรมชาติในการดำรงชีวิตจึงอาจกล่าวถึงความสำคัญของทรัพยากรธรรมชาติได้เป็น ๔ ประการดังนี้ คือ
    1. เป็นแหล่งที่มาของวัตถุดิบ และผลิตผล
    2. เป็นที่รองรับกิจกรรมต่างๆ ของมนุษย์และช่วยเกื้อกูลให้ชีวิตดำรงอยู่ได้
    3. เป็นแหล่งรองรับของเสีย และของเหลือเศษจากขบวนการผลิตและการบริโภค
    4. ให้ความรื่นรมย์แก่จิตใจของมนุษย์ เช่น ทิวทัศน์ ภูมิประเทศ ความงามของธรรมชาติ

     ดังนั้น บริการต่างๆ ที่มนุษย์เราได้รับจากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จึงช่วยให้มีชีวิต
รอดอยู่ไดและสามารถทำให้คุณภาพชีวิตของมนุษย์ดีขึ้น แต่ทั้งนี้จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของ
การรู้จักใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด (Wise Use) และมีการจัดการ
ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เป็นระบบอย่างเหมาะสม โดยจะต้องคำนึงถึงขีดความสามารถในการรองรับ (Carrying Capacity) เพื่อให้สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างยั่งยืน(Sustainable Utilization)เพราะหากมีการตักตวงใช้ประโยชน์ที่มากเกินขนาด และขาดความระมัดระวังในการใช้ ก็ย่อมจะก่อให้เกิดความเสื่อมโทรมของทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมจนกลายเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมที่ย้อนกลับมาส่งผลกระทบต่อชีวิต และความเป็นอยู่ของมนุษย์ในที่สุด


ระบบนิเวศ (ecosystem) หมายถึง กลุ่มมีชีวิตไม่ว่าจะเป็น พืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ที่
อาศัยอยู่ในบริเวณเดียวกัน และมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ทั้งความสัมพันธ์ระหว่าง
สิ่งมีชีวิตกับสิ่งมีชีวิต และสิ่งมีชีิวิตกับสิ่งไม่มีชีวิตโลกจัดได้ว่าเป็นระบบนิเวศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดซึ่งเรียกว่า โลกของสิ่งมีชีวิต (biosphere)   

ที่มา : หนังสือเรียนสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
  โรงเรียนแต่ละแห่งมีขนาดไม่เท่ากัน บางแห่งมีขนาดเล็ก บางแห่งมีขนาดใหญและแต่ละแห่งจะมีจำนวนนักเรียนไม่เท่ากันในทำนองเดียวกันแหล่่งที่อยู่อาศัยในระบบนิเวศแต่ละระบบก็มีขนาดแตกต่างกันสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ก็จะมีจำนวน และชนิดแตกต่างกันไปด้วย กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศเดียวกัน ณ ช่วงเวลาหนึ่งจะถูกเรียกว่าประชากร (population)

           1. ขนาดของประชากร        

           2. ปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง        

           3. การสำรวจสิ่งมีชีวิตและสิ่งแวดล้อม


ภาพตัวอย่าง ประชากรในระบบนิเวศ
ที่มา : http://pirun.ku.ac.th
 สารต่างๆ ในโลก  บางชนิดเมื่อถูกใช้แล้วจะหมดไป  แต่สารบางชนิดก็อาจเปลี่ยนแปลงไปอยู๋ในรูปของสารอื่น  แต่ท้ายที่สุดธรรมชาติก็จะมีวิธีการสารที่ถูกใช้ไปนั้น ขึ้นมาใหม่และหมุนเวียนสารที่เปลี่ยนรูปให้มาอยู่ในรูปเดิม  ในทำนองเดียวกัน  หากสารใดมีปริมาณมากเกินไป  ธรรมชาติจะมีวิธีการลดปริมาณลงให้มีระดับที่เหมาะสม เพื่อเป็นการรักษา่ภาวะสมดุลให้กัยระบบนิเวศ


 สิ่งแวดล้อมมีทั้งสิ่งที่มีชีวิตและไม่มีชีวิตเกิดจากการกระทำของมนุษย์หรือมีอยู่ตามธรรมชาติ เช่น อากาศ ดิน หิน แร่ธาตุ น้ำ ห้วย หนอง คลอง บึง ทะเลสาบ ทะเล มหาสมุทร พืชพรรณสัตว์ต่าง ๆ ภาชนะเครื่องใช้ต่าง ๆ ฯลฯ สิ่งแวดล้อมดังกล่าวจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอโดยเฉพาะมนุษย์เป็นตัวการสำคัญยิ่งที่ทำให้สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงทั้งในทางเสริมสร้างและทำลาย
    จะเห็นว่า ความหมายของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด
ต่างกันที่สิ่งแวดล้อมนั้นรวมทุกสิ่งทุกอย่างที่ปรากฎอยู่รอบตัวเรา ส่วนทรัพยากรธรรมชาติเน้นสิ่งที่อำนวยประโยชน์แก่มนุษย์มากกว่าสิ่งอื่น


ภาพ ทรัพยากรในระบบนิเวศ
ที่มา : 
http://blog.sanook.com



ภาพ การนำทรัพยากรในธรรมชาติมาประกอบอาชีพ
ที่มา : http://www.oknation.net
    แนวคิดในการใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นผลสืบมาจากการเกิดสภาวะความเสื่อมโทรมของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  ที่นับวันจะทวีความรุนแรงและส่งผลกระทบต่อคนเราเพิ่มมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่องค์การสหประชาชาติได้

  ความหมายของการพัฒนาที่ยั่งยืน 
     - การพัฒนาที่ยั่งยืน เป็นคำที่มีรากฐานมาจากหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง หมายถึง การพัฒนาคนให้มีคุณภาพ การเพิ่มผลผลิต และการใช้หรือจัดการทรัพยากรธรรมชาติและ
สิ่งแวดล้อมอย่างฉลาด รู้จักถนอมในการใช้ เพื่อให้มีไว้ใช้ เพื่อใช้มีอย่างยาวนานจนถึงคนรุ่นหลัง
     - การใช้ทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  หมายถึง การนำทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมมาใช้พัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์ เพื่อให้มีมาตรฐานคุณภาพชีวิตที่ดี โดยไม่ทำให้ทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมนั้นด้วยประสิทธิภาพลง หรือกระทบกระเทือนต่อคนรุ่นหลัง


  แนวทางในการปฏิบัติที่จะนำไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
    - ประชาชนและภาครัฐต้องช่วยกันควบคุมปล่อยของเสียที่สร้างขึ้นให้ออกสู่ธรรมชาติน้อยลง
    - ประชาชนและภาครัฐต้องรู้จักวิธีการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ
    - ประชาชนทุกคนต้องเกิดจิตสำนึกร่วมกัน  โดยการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคทรัพยากร
ธรรมชาติให้เหมาะสม
    - ภาครัฐควรวางมาตรการการประจายรายได้ออกไปสู่ภาคประชาชนในทุกกลุ่มทุกอาชีพ
เพื่อสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจ
    - ภาครัฐควรวางมาตรการในการควบคุมอัตราการเพิ่มของจำนวนประชากร


     นโยบายและวิธีการจัดการด้านทรัพยากรเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนของรัฐบาลไทย
รัฐบาลพระยาพหลพลพยุหเสนา มีนโยบายให้จัดการสำรวจที่ดินว่างเปล่าที่ยังไม่มีเจ้าของ  มาจัดวางระเบียบการจับจองที่ดินให้เหมาะสมแก่การเพาะปลูก  และจัดวางแผนส่งเสริมชลประทาน
รัฐบาลหม่อมราชวงศ์เสนีย์  ปราโมช มีนโยบายเร่งดำเนินโครงการชลประทานขนาดเล็กส่งเสริมการประมงและปศุสัตว์จนสามารถเป็นสินค้าออก  และป่าไม้เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่เป็นสมบัติของส่วนรวมรัฐจะอนุรักษ์และพัฒนาป่าไม้ให้คงสภาพและเกิดความสมบูรณ์เป็นแหล่งของต้นน้ำลำธาร รัฐบาลพลเอกสุจินดา  คราประยูร มีนโยบายในการที่จะอนุรักษ์คุ้มครองและป้องกันการทำลายทรัพยากรธรรมชาติทั้งดิน  ป่าไม้  และทรัพยากรธรรมชาติอื่นๆและให้ประชาชนในพื้นที่มีบทบาทในการอนุรักษ์ทรัพยากรฯให้มากยิ่งขึ้นนอกจากนี้จะกวดขันให้เจ้าหน้าที่ควบคุมดูแลทรัพยากรฯอย่างเข้มงวดโดยใช้ภาพจากดาวเทียมในการควบคุม รัฐบาลนายชวน  หลีกภัย มีนโยบายเร่งรัดการปฏิรูปที่ดินและการออกเอกสารสิทธิ์เพื่อกระจายสิทธิ์การถือครองที่ดินให้แด่เกษตรกรผู้ยากไร้ เพื่มมาตรการในการป้องกันและปราบปรามการบุกรุกและการตัดไม้ทำลายป่า รัฐบาลพันตำรวจโททักษิณ  ชินวัตร มีนโยบายในการฟื้นฟูสภาพและคุณภาพการป้องกันการเสื่อมโทรมหรือการสูญสิ้นไปและการนำกลับมาใช้ใหม่ซึ่งทรัพยากรธรรมชาติ  เกิดความสมดุลในการพัฒนา

    แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกับรูปแบบและแนวทางการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน 
     - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 6 (พ.ศ.2530-2534) เป็นแผนพัฒนาฯที่เน้นพัฒนาประเทศให้ก้าวควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจและสังคมที่สะสมมาจากแผนพัฒนาฯฉบับที่ผ่านมาเน้นการใช้ทรัพยากรทุกชนิดอย่างมีคุณภาพ  และเน้นเศรษฐกิจ  การเมืองสังคม ให้มีความเกื้อกูลซึ่งกันและกัน
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 7 (พ.ศ.2535-2539)  เป็นแผนพัฒนาฯที่มุ่งให้เกิดความสมดุลระหว่างการพัฒนาในเชิงปริมาณคุณภาพและความเป็นธรรมในสังคมเน้นการกระจายรายได้และความรู้ไปสู่ภูมิภาค  เน้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์  คุณภาพชีวิตและการรักษาสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรธรรมชาติ
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 8 (พ.ศ.2540-2544)  เน้นการพัฒนาที่ยั่งยืน
และแท้จริง  โดยกำหนดการพัฒนาคนเป็นวัตถุประสงค์หลัก  และในส่วนของการจัดการทรัพยากรฯและสิ่งแวดล้อม  มีการวางแผนจัดการเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูให้มีความสมบูรณ์และเกิดความสมดุลต่อระบบนิเวศวิทยาและให้เกิดประโยชน์อย่างมีประสิทธิภาพ  เป็นธรรม เป็นประโยชน์ต่อสังคมและชุมชนอย่างแท้จริง
    - แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 9 (พ.ศ.2545-2549)  เป็นแผนพัฒนาที่ได้อัญเชิญแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตามแนวพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาเป็นปรัชญานำทางในการพัฒนาและบริหารประเทศ  เพื่อให้ประเทศรอดพ้นวิกฤตเศรษฐกิจนำไปสู่การพัฒนาที่สมดุลมีคุณภาพ


ภาพ การเก็บเห็ดโคน เพื่อนำไปประกอบอาชีพ
ที่มา : http://www.oknation.net

ภาวะโลกร้อน เป็นสาเหตุหลักของภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยๆ ทั่วโลก ระบบนิเวศน้ำจืดที่ถูกคุกคาม ก็มีบทบาทอย่างมากต่อปัญหานี้ในช่วง 150 ปีที่ผ่านมาที่ราบสองฝั่งแม่น้ำสายใหญ่ๆได้ถูก
เปลี่ยนแปลงสภาพไปเป็นพื้นที่เกษตรกรรม และการพัฒนาอื่นๆ ทั่วยุโรป ที่พักอาศัยใหม่ๆ ถนน สาธารณูปโภคพื้นฐานถูกสร้างบนพื้นที่ อันเป็นที่รองรับน้ำหลากแม่น้ำหลายสายในยุโรปถูกกั้นด้วยเขื่อน และถมตลิ่งสูงเพื่อประโยชน์ในการขนส่งผลิตกระแสไฟฟ้าเปิดพื้นที่เพื่อการเกษตร
และการก่อสร้างต่างๆแต่ศักยภาพในการรองรับปริมาณน้ำตามธรรมชาติ ในที่ราบริมฝั่งแม่น้ำ ได้สูญหายไป ซึ่งที่ราบสองฝั่งแม่น้ำ ช่วยระบายกระแสน้ำไปอย่างช้าๆ และปลอดภัย เป็นการทำความสะอาดแม่น้ำตามธรรมชาติเมื่อไม่มีพื้นที่ เช่นนั้นกระแสน้ำที่ถูกบีบให้ไหลในแม่น้ำที่มีตลิ่งสูง จึงรุนแรง ประกอบกับภาวะโลกร้อน ทำให้เกิดพายุฝนถล่มหนักอยู่บ่อยครั้งกระแสน้ำที่ล้นตลิ่งก็จะเอ่อท่วมบ้านเรือนพื้นที่เกษตรกรรมกวาดทุกอย่างให้หายวับไปในชั่วพริบตา
    
   
[1] 2 3 4